หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

บทความพิเศษ : ความแข็งแกร่งและอนาคตของอนิเมชั่นญี่ปุ่น



เนื่องในโอกาสที่แอดมินเว็บ Akibatan ได้มีโอกาสเข้าไปยัง Panel พิเศษของงาน Thailand Comicon 2014 ในหัวข้อ ความแข็งแกร่งและอนาคตของอนิเมชั่นญี่ปุ่น โดย Michihiko Umezawa  CEO ของบริษัท Shin-Ei Animation  ซึ่งเป็นบริษัททำอนิเมชั่นเก่าแก่ที่หนึ่งในญี่ปุ่น แต่ละเรื่องที่พวกเขาผลิตออกมานั้น พูดได้เลยว่าคงแทบไม่มีใครที่ไม่รู้จัก นั่นก็คือ Doraemon  Crayon Shin-chan และอื่นๆ อีกมากมาย



บริษัท Shin-Ei  (ในอดีตชื่อ A  Pro)  อยู่คู่ญี่ปุ่นมาเนิ่นนานตั้งกะปี 1976 โดยจะเน้นทำอนิเมชั่นสำหรับฉายให้กับคนทุกเพศทุกวัย โดนจะมีลักษณะดูง่ายและจบเป็นตอนๆไป เรื่องล่าสุดตอนนี้ก็ Tonari no Seki-kun  เพื่อนเกรียนข้างโต๊ะนี่แหละฮ่าๆ ที่นี่ก็ยังเป็นที่ผลิตอนิเมเตอร์ชื่อดังต่างๆมากมาย อย่าง Hayao Miyazaki และ Isao Takahata แห่ง Ghibli  ก็เคยทำงานที่นี่มาเหมือนกัน ซึ่งถึงตอนนี้ก็ยังให้โอกาสอนิเมเตอร์รุ่นใหม่ๆ สร้างสรรค์ผลงานเพื่อพัฒนาตนเองอยู่เรื่อยๆ



คุณ  Michihiko Umezawa CEO ของบริษัท ก็ได้มาเล่าเกี่ยวกับข้อดีของอนิเมชั่นญี่ปุ่นที่สามารถดังไปทั่วโลกได้จน เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ทำเงินได้มากเป็นอันดับต้นๆของญี่ปุ่น และสถานการณ์การเสพอนิเมชั่นของคนญี่ปุ่น และคนทั่วโลกว่ามีความเปลี่ยนแปลงจากเมื่อในอดีตอย่างไร และในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นกับวงการอนิเมชั่นที่มีสื่อในรูปแบบต่างๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆนี้



จุดแข็งของอนิเมชั่นญี่ปุ่นที่ทำให้เป็นที่นิยมออกไปนอกประเทศได้

ตัวละคร Original ของอนิเมะญี่ปุ่น จะมีความเป็นเอกลักษณ์ น่าจดจำกว่า และประเทศอื่นๆนั้นสามารถสร้างตัวละครออริจินอลที่ดังๆออกมาได้น้อย (ถ้าไม่นับอเมริกานะ)
เมื่อเทียบกันแล้ว การ์ตูนของฝั่งอเมริกา จะเน้นเรื่องตลกโครมคราม(นึกภาพ Tom & Jerry กับ Popeye) และเจาะเป้าหมายไปยังเด็กๆเท่านั้น แต่อนิเมะญี่ปุ่นจะมีธีมของเรื่อง และมีเนื่อเรื่องที่น่าติดตาม ทำให้สามารถดูกันได้ทั้งครอบครัว แม้แต่วัยรุ่นและวัยทำงานก็ให้ความสนใจในอนิเมะด้วย (หลังๆจะเห็นว่าทางฝั่งอเมริกาก็เริ่มซึมซับข้อดีด้านนี้มาแล้ว)
แต่ละไตเติ้ลของอนิเมะญี่ปุ่นนั้นมีจำนวนตอนที่เยอะมาก (สมัยนั้น อย่างน้อยๆก็ 50 ตอน สำหรับฉายทั้งปี)  แถมยังมีทำหลายหลายรูปแบบสำหรับแต่ละช่วงอายุด้วย อีกทั้งคนเริ่มดูอนิเมะมาตั้งแต่ปี 80 และ 90 เมื่อคนในยุคนี้มีอายุมากขึ้น พวกเขาก็ยังดูอนิเมะต่อไปอยู่ดี ขนาดเวลาฉายอนิเมะ นั้นมีตั้งแต่ช่วงเช้า เย็น ไปจนถึงรอบดึกเลยทีเดียว



สถานการณ์ในการรับชมอนิเมชั่นของคนในญี่ปุ่น

หลายๆคนอาจจะได้ยินมาแล้วว่า  อัตราการเกิดของคนญี่ปุ่นในยุคนี้นั้นลดลง เรื่อยๆ เนื่องจากคู่สมรสไม่พยายามมีบุตร อันเนื่องมาจากทั้งค่าครองชีพ และที่อยู่อาศัยที่จำกัด ทำให้จำนวนเด็ก อายุระหว่าง 1-14 ปี ในช่วงปี 2012 นั้นลดมาจากปี 1963 จาก 28 ล้านคน ลงมาเหลือ 17 ล้านคนเท่านั้น



จากภาพ จะเห็นว่าในปี 2012 อุตสาหกรรมอนิเมะในญี่ปุ่น สามารถทำเงินได้ถึง หนึ่งล้านๆสามแสนเยน โดยรายในส่วนใหญ่จะมาจากในประเทศ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า วัฏจักรอุตสาหกรรมอนิเมะ(Anime Industry Cycle) เริ่มจากการฉายอนิเมะตามช่องที่วีต่างๆ เมื่อฮิตแล้วจะเริ่มทำการจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับอนิเมะ และนำตัวละครเหล่านั้นมาให้ในการโฆษณา หรือนำไปโปรโมทสิ่งต่างๆได้ เมื่อมีเงินเหลือก็เอาไปทำภาคภาพยนตร์จอเงินได้อีก หลังจากนั้นจะเป็นการออกแผ่น BD และ DVD รวมไปถึงแผ่น CD เพลงประกอบต่างๆ คอนเสิร์ต ไลฟ์อีเว้นท์ เกมออนไลน์ได้อีก รวมๆในประเทศญี่ปุ่นอย่างเดียวก็สามารถทำเงินจากอนิเมะที่มาจากทั่วทั้งโลก รวมกันได้ซะอีก



ในปี 2050 ก็มีการคาดการณ์ว่า จำนวนประชากรของญี่ปุ่นจะลดลงไปถึง 25% และ 40% ของประเทศจะมีแต่คนแก่อายุ 65 ปีขึ้นไปด้วย ส่งผลความต้องการในด้านต่างๆ ในประเทศนั้นลดลง ผลกระทบที่ตามมาคือ คนในประเทศจะให้ความสนใจในอนิเมะน้อยลงนั้นเอง


วิธีการรับมือกับปัญหาจำนวนคนดูอนิเมะที่ลดน้อยลงในอนาคต

ทางคุณ Michihiko Umezawa ได้มองว่าไม่ควรโฟกัสเรื่อง วัฏจักรอุตสาหกรรมอนิเมะเพียงแต่ที่ญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ควรนำออกไปเผยแพร่ยังประเทศต่างๆให้มากขึ้นนั่นเอง โดยเฉพาะในประเทศที่มีจำนวนประชากรเด็กเยอะ อย่างอินเดียที่มีมากกว่าถึง 23 เท่า และจีนที่ 17 เท่า ก็จะเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยฟื่นฟูอุตสหากรรมอนิเมะให้กลับมาทำเงินได้อีก ครั้ง กิจกรรมและสินค้าเกี่ยวกับอนิเมะต่างๆ ที่แต่เดิมวางขายกันเฉพาะในญี่ปุ่นนั้นก็ควรขยายออกไปให้มีอยู่ในประเทศ ต่างๆด้วย

แก้ไขข้อความเมื่อ
24 ความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
3 แผนใหญ่ๆที่จะช่วยส่งเสริมให้การนำอนิเมะของญี่ปุ่นประสบ ความสำเร็จด้วยดีในต่างประเทศ โดยที่ประเทศที่นำอนิเมะเข้ามาก็ได้รับประโยชน์ด้วยก็คือ

1. การทำ Collaboration และการปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย อย่างในประเทศอินเดีย ก็ได้มีการซื้อลิขสิทธ์ นินจาฮาโตริไปทำใหม่ทั้งหมด โดยทีมงานของอินเดียจะเป็นฝ่ายรับผิดชอบทั้ง Script เสียงพากย์ และอนิเมะชั่น ให้เหมาะกับวัฒนธรรมของเขา แต่ก็ไม่ถึงกับเปลี่ยนให้ฮาโตริเป็นแขก เพราะยังคงหน้าตาเดิมๆไว้  โดยที่ทางญี่ปุ่นจะเป็นฝ่ายลงมาคุย และแนะแนวให้ว่าต้องทำอย่างไรบ้างนั่นเอง
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ*ใน งานมีการเปิด OP ของทางอินเดียให้ดู ลายเส้นจะเป็นการวาดใหม่โดยใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหมด ให้เข้ากับยุคสมัย ซึ่งออกมาดูดีเลยล่ะ แต่เหมือนจะยังไม่เปิดเผยให้ข้างนอกดู ก็เลยเอาที่เขาทำเป็น TVCM ของ Panasonic ไปดูก่อนละกันนะ



2. การนำอนิเมะเข้ามาใช้ในสิ่งที่กำลังฮิต และเป็นที่น่าสนใจ ด้วยการทำแคมเปญสินค้าโปรโมชั่นต่างๆ โดยมีตัวละครจากอนิเมะอยู่บนนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มความน่าสนใจ และสามารถขยายกลุ่มลูกค้าได้ด้วย ใครนึกไม่ออกก็ลอง นึกถึงแฮปปี้มีลของแม็ค  บัตรเดบิตกสิกรลายโดราเอมอน กับแก้วเซเว่นหมีชิวเอานะ


3. สร้างช่องการ์ตูนที่มีแต่การ์ตูนฉายทั้งวัน (แบบเดียวกับ Cartoon Network) โดยร่วมมือกับสื่อในประเทศเป้าหมายเพื่อสร้างช่องแบบนี้ขึ้นมา อย่างในบ้านเราก็มี Cartoon Club, Gangcartoon นี่แหละ



ประเทศไหนในเอเซียที่มีการ LC  อนิเมะจากญี่ปุ่นไปมากที่สุด?
หลายๆคน อาจจะยังไม่รู้ แต่ประเทศเกาหลีใต้นั้นมีการ LC อนิเมะจากญี่ปุ่นไปมากที่สุดในเอเซีย ทั้งอนิเมะสายหลัก และอนิเมะซีซันสำหรับทุกเพศทุกวัยกันเลยทีเดียว ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมถึงมีข่าวการมโนว่าอนิเมะหลายๆเรื่องนั้นเป็น ของเกาหลี ก็เพราะมันมีฉายอยู่ที่นู่นมานานนม จนคนเขานึกว่าทางเกาหลีทำกันเองนั่นแหละ (มั้งนะ)
ซึ่งประเทศไทยของเราหลังๆมานี่ก็มีค่ายต่างๆให้ความสำคัญกับการ LC มากขึ้นกว่าเดิมเยอะ ปีนี้ก็น่าจะติดอยู่ที่ราวๆ Top 5 เหมือนเดิมอย่างแน่นอน


ในที่สุดแล้ว ถึงแม้ทางญี่ปุ่นในอนาคตนั้นอาจจะไม่ได้มีโอกาสทำให้วงการอนิเมชั่นเติบโต อยู่ในประเทศตัวเองได้อย่างเต็มที่ แต่ก็สามารถนำเมล็ดพันธุ์แห่งวัฒนธรรมอนิเมะที่ได้เพาะบ่มมาเป็นเวลาหลายสิบ ปีนี้ ออกไปสู่ประเทศต่างๆ และหล่อหลอมให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ๆขึ้นมาโดยพัฒนาจากของเดิมให้สืบต่อไป

ขอขอบคุณงาน Thailand Comic Con สำหรับ Panel ดีๆ นี้ครับ

Credit

Akibatan

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น